
เป็นที่รู้กันดีว่าไก่ชน พันธุ์ของพม่านั้น ขึ้นชื่อเรื่องความเก่งกาจขนาดไหน หากได้นำไปชนขึ้นชื่อว่าเป็นไก่พม่า คู่ต่อสู้เป็นต้องเกรงเลยล่ะ วันนี้เราจึงจะพาไปทำความรู้จักกับไก่พม่ากัน ว่ามี จุดเด่นไก่ชนพม่า เป็นยังไงถึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นไก่สุดแกร่ง
ประวัติ
ประวัติไก่ชนพม่าประวัติไก่ชนพม่า มีความน่าสนใจและเหมาะสำหรับเซียนไก่ชนทั้งหลาย ที่ควรที่จะศึกษาไว้ เพื่อให้ทราบถึงที่มาที่ไป และจุดเด่นจุดด้อยของ ไก่ชนพม่า เพราะจะมีประโยชน์เวลานำไก่ชนของไทยไปเป็นคู่ต่อสู้ “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ไก่ชนก็เช่นกัน!พูดถึง ประวัติไก่ชนพม่า ชื่อก็บอกได้ชัดเจนถึง “ถิ่นกำเนิด” ว่ามาจาก “ประเทศพม่า” เพื่อนบ้านของเรานี่เอง ไก่ชนสายพันธุ์ดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทยโดยการกระจายตัวทางทางภาคเหนือ รวมถึงในจังหวัดต่างๆ ของไทย ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า
ปัจจุบันนี้ มีการนำไก่ชนพม่า มาผสมกับสายพันธุ์อื่นๆ เพื่อให้ได้คุณสมบัติเด่นตามที่เซียนไก่ต้องการ เราจึงเห็นไก่ชนที่มีหลากหลายสายพันธุ์กันไป ตามแต่จะเรียก หรือจะสร้างสรรค์สายพันธุ์นั้นๆ ขึ้นมารู้หรือไม่ว่า ในประเทศไทย มีผู้ที่ทำการเพาะพันธุ์ไก่ชนสายพันธุ์ “พม่า ม้าล่อ” และยังสร้างแชมป์ไก่ชนค่าตัวสูงถึงหลักล้าน ซึ่งรู้จักกันดีในวงการไก่ชนสุโขทัย คือ “พี่ไหน” หรือคุณนิพัธพงษ์ รุจิราเรืองโรจน์ เจ้าของซุ้มไก่บ้านนอกไก่คอกวัว
ลักษณะของ ไก่ชนสายพันธุ์พม่า มีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดเจนทางกายภาพคือ เป็นไก่ที่มีขนาดเล็กโดยมีน้ำหนักอยู่ราวๆ 2 กิโลกรัม หรือ 2.5 กิโลกรัม อกแน่น หางยก ลำตัวสั้น หน้าแหลม และจะมีสีขนเป็นสีเขียว สีเหลือง สีกรดแดง สีกรดดู่ และสีกรดเหลือง ซึ่งถือว่าเป็นสีหลักของไก่สายพันธุ์พม่า และมักจะมีตุ้มหูขาว คาดว่าเป็นการสืบเชื้อสายมาจากไก่ป่า และมีตาที่ค่อนข้างโปนและจุดเด่นนี้นี่เอง ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นนักสู้ของไก่พม่า
*สีของตา ไก่ชนพม่า จะมีสีขาวเป็นหลักสีของตา ไก่ชนพม่า จะมีสีขาวเป็นหลัก มีสนับปีกที่หนาและค่อนข้างยาว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วขนาดของแข้งขาจะเล็กแทบจะเรียกว่า ขาแห้งเลยก็ว่าได้ แต่ในที่นี้ความหมายจะสื่อถึง “แข้งอิ่ม” ซึ่งรูปแข้งแบบนี้จะชี้ให้เห็นว่าเป็นไก่ที่ตีแม่นและตีเจ็บ โดยเฉพาะบริเวณรูปปากที่มักจะเล็ก และยาวแต่ปลายงุ้ม
*มี “หงอน” เป็นลักษณะเด่น – ลีลาสุดยอดอีกลักษณะเด่นประการที่สำคัญของ ไก่ชนสายพันธุ์พม่า คือ “หงอน” ซึ่งจะมี 2 ลำดับด้วยกัน ได้แก่
1.หงอนไก่นาคราช และ 2.หงอนแจ้ เรียกอีกอย่างว่าหงอนชี้ฟ้า ส่วนชั้นเชิงลีลาจัดว่าสุดยอดมาก เพราะว่า มันจะไม่ยอมเข้าปะทะกับคู่ต่อสู้โดยตรง ด้วยความที่ตนเองมีรูปร่างเล็ก จึงต้องหาจังหวะและโอกาสในการเข้าโจมตีคู่ต่อสู้ เป็นไก่ที่ฉลาดไม่เบาเลย
*ไก่ชนสายพันธุ์พม่า ยอดนิยมทางเหนือ “สายพันธุ์แม่สะเรียง”
ประวัติไก่ชนพม่า “สายพันธุ์แม่สะเรียง” เป็นไก่ชนพม่าที่ถูกนำเข้ามาจากพม่า และนำมาเลี้ยงที่อำเภอหนึ่งทางภาคเหนือ นั่นก็คือ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงเป็นที่มาของชื่อสายพันธุ์ โดยไก่ชนสายพันธุ์แม่สะเรียง นอกจากจะมีลำตัวเล็กแล้ว ยังมีรูปหน้าที่เรียวเล็ก ปากแหลม คางรัด แววตาดุดัน กระโดดได้สูง เราจะเห็นคนทางภาคเหนือนิยมเลี้ยงกัน ส่วนภาคอื่นจะนิยมนำ ไก่ชนพม่า “สายพันธุ์แม่สะเรียง” มาเป็นพ่อพันธุ์มากกว่าทั้งหมดนี้ก็คือ ประวัติไก่ชนพม่า และจุดเด่นคร่าวๆ ของไก่ชนพม่า
และด้วยจุดเด่นของไก่สายพันธุ์นี้ ที่ทำให้คนในวงการไก่ชน เซียน หรือแม้กระทั่งมือใหม่ที่เพิ่งจะเข้ามาสู่วงการชนไก่ เริ่มที่จะสนใจศึกษาและค้นคว้า ประวัติไก่ชนพม่า แม้กระทั่งงานวิจัยของนักศึกษาในระดับปริญญาโท ก็มีการศึกษาเรื่องของไก่ชน ในหลากหลายมิติ เพราะว่า ไก่ชน สร้างงานสร้างอาชีพให้คนไทยไม่น้อย

สายพันธุ์ของไก่ชนพม่า
ไก่ชนพม่ามีกี่สายพันธุ์ ? หลายคนคงอยากทราบ ไก่พม่านั้นจะมีรูปร่างเล็ก คล้ายๆ กับไก่ป่า แต่ด้วยจุดเด่นของ ไก่ชนพม่า ที่ถูกอกถูกใจของเซียนไก่ชนทั้งหลายนั่นคือ ความว่องไว ชอบแทงหู แทงตา ดีดแข้งเปล่าได้ดี และสนับปีกหนา มันจึงทำให้หลายๆ คน นิยมเลี้ยงไก่พม่า เรามาดูกันว่าสายพันธุ์ที่นิยมมีอะไรบ้าง
- สายพันธุ์แม่สะเรียงหากจะถามว่า ไก่ชนพม่ามีกี่สายพันธุ์ หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของ “สายพันธุ์แม่สะเรียง” รวมอยู่ด้วยแน่นอน ในวงการแทบจะไม่มีใครที่ไม่รู้จักชื่อเสียงเรียงนามของไก่สายพันธุ์นี ซึ่งไก่ชนแม่สะเรียง มาจากไก่ชนสายพันธุ์พม่านำเข้ามาจากพม่าโดยตรงและนำมาเลี้ยงที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนรูปร่างของไก่ชนแม่สะเรียง จะมีขนาดลำตัวเล็ก คางรัด ปากแหลมสีดำ แววตาดุดัน แสดงให้เห็นถึงความฉลาดและความเจ้าเล่ห์ภายในตัว มีความว่องไว กระโดดได้สูง นิยมเลี้ยงทางภาคเหนือส่วนภาคอื่นนิยมนำมาเป็นพ่อพันธุ์เพื่อผสมตามชั้นเชิงที่ต้องการไก่ชนพม่ามีกี่สายพันธุ์ หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของ “สายพันธุ์แม่สะเรียง”ไก่รูปร่างเล็กอย่างสายพันธุ์นี้ จึงไม่ต้องไปคาดหวังว่า “ไหล่” มันจะใหญ่ เพราะไหล่ของไก่สายพันธุ์ดังกล่าวจะเล็กเหมือนกับตัวของมัน อาจจะมีบ้างที่ไหล่ของไก่แม่สะเรียงมีขนาดใหญ่ แต่นั่น เราสันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็นการผสมกับสายเลือดอื่นที่มากเกินไป ซึ่งหากมันมีไหล่ที่ใหญ่จะลดทอนความพลิ้วของลีลาในการต่อสู้จุดสังเกต อีกประการคือ “หลัง” ของไก่ชนสายพันธุ์แม่สะเรียงของแท้เลือดร้อย จะต้องนูนคล้ายๆ หลังเต่า ไม่ใช่เป็นรูปสี่เหลี่ยม ดังนั้น เวลาไปซื้อไก่มาเลี้ยงจะต้องดูจุดนี้ให้ดีด้วย ส่วน “ปีก” ของไก่ชนสายพันธุ์แม่สะเรียง จะใหญ่และหนาไม่ว่าจะเลือดร้อยหรือลูกผสมก็ตามไก่ชนพม่ามีกี่สายพันธุ์ สายพันธุ์พม่าง่อน กระดูกดี ลีลาเด็ด
- ไก่ชนสายพันธุ์พม่าง่อน ลักษณะไก่ชนพม่าง่อนไก่ชนพม่าง่อนตัวอย่างไก่ชนพม่าง่อนไก่ชนพม่าง่อนจุดเด่นของ พม่าง่อน คือ มีโครงสร้างกระดูกที่ดีเยี่ยม ลีลาเด็ด และหากมีสัดส่วนการผสมพันธุ์สายเลือดง่อน 25 และพม่า 75 จะทำให้โครงสร้างดี สมส่วน และแข็งแรงหากจะพูดถึงเรื่องความยากง่ายในการเลี้ยงดู สายพันธุ์นี้เลี้ยงไม่ยากเลย เพราะว่าสามารถนำมาครอบสุ่มได้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก ประมาณสัก 9 เดือนก็ครอบสุ่มได้ ไม่ค่อยเจ็บป่วย ยืนระยะได้ดี
- สายพันธุ์พม่ารำวงชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “รำวง” ดังนั้น ไก่สายพันธุ์นี้จะมีลีลาและสไตล์แนวรำวง นั่น คือวิ่งออกซ้ายบ้าง ขวาบ้าง พูดง่ายๆ คือ คู่ต่อสู้นี่เข้าหาตัวมันได้ลำบากมาก เพราะมันเล่นตีวงซะขนาดนั้น อย่าหวังว่าจะได้เข้าใกล้มันง่ายๆ เวลาลงสนามต่อสู้ และหากเดินเข้า เกี้ยวมันเมื่อไหร่มันพร้อมรอ เตะ ตบ แบบที่คู่ตอสู้ตั้งตัวไม่ทันเลยเหนือฟ้ายังมีฟ้า เมื่อไหร่ก็ตามที่มันเจอกับคู่ต่อสู้ที่เป็น พม่าร้อย ซึ่งจะมีสไตล์ของตัวเองคือ ไม่เดินเข้าหา ไม่เกี้ยว แต่ไก่พม่ารำวงจะเก่งเมื่อคู่ต่อสู้เดินเข้าหา แต่ก็มักจะเสียเชิงชนกับไก่ที่ไม่เดินเข้าหาเช่นกันแต่มันก็จะมีความพยายามในตัวของมัน เล่นชั้นเชิงลีลา หลอกล่อให้คู่ต่อสู้เดินเข้าหาปากจิกดินคุ้ยเขี่ยยั่วยุ สุดท้ายคู่ต่อสู้หัวร้อน และเดินเข้าหาแค่นั่นแหละเข้าทางมันเลยสำหรับไก่ชนสายพันธุ์พม่ารำวง
- ไก่พม่าสายพันธุ์พม่า + ใต้หวัน (หรือเรียกว่าไก่เยียร์) รูปไก่ พม่า+ไต้หวัน (หรือเรียกว่าไก่เยียร์)รูปไก่ พม่า+ไต้หวัน (หรือเรียกว่าไก่เยียร์)เป็นไก่ที่นำเข้ามาจากใต้หวัน เป็นไก่ที่มีกระดูกโครงสร้างที่ใหญ่ และเชิงชนตีที่เจ็บ ทำให้คนไทยนำเข้ามาเพื่อพัฒนาเข้ากับไก่พม่าที่มีโครงสร้างเล็ก ทำให้ได้ลูกผสมที่มีโครงสร้างที่ใหญ่ขึ้น (กระดูกดี)ไก่ชนพม่ามีกี่สายพันธุ์ ก็อย่างที่บอกไปข้างต้นให้ทุกคนได้ทราบ น่าจะได้ความรู้กันไปไม่มากก็น้อย แต่ละสายพันธุ์จะมีความเจ็บจี๊ดในตัวที่แตกต่างกัน ไว้โอกาสหน้าจะมาพูดถึง วิธีการเลี้ยงดู วิธีการเพาะพันธุ์ไก่ชนกัน

สังเคราะห์ลักษณะไก่พม่าเก่งๆ
บทความนี้ เราจะมาพูดถึงการ สังเคราะห์ลักษณะไก่พม่าเก่งๆ ถามว่าทำไมต้องเป็นไก่พม่า ก็เพราะว่ามันเป็นสายพันธุ์ไก่ชนที่คนส่วนใหญ่นิยมเลี้ยง แถมราคาก็สูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ดังนั้น เราจะมา สังเคราะห์ลักษณะไก่พม่าเก่งๆ เพื่อที่จะได้มีความรู้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเพื่อการเพาะขาย, เลี้ยงไว้ชนในบ่อน หรือทั้งเพาะขายและเลี้ยงไว้ชนในบ่อนในที่นี้เราได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ และตอนท้ายจะนำมาสรุปให้เหลือเพียง “หัวใจหลัก” ที่สำคัญของ “ลักษณะไก่พม่าเก่งๆ” ยังไงก็ตาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน กรุณาอ่านการ สังเคราะห์ลักษณะไก่พม่าเก่งๆ ให้จบอย่าเพิ่งหนีไปไหน หรือเลื่อนไปอ่านตอนท้ายเลยเสียก่อนนะครับ !!*ไก่พม่าที่เก่งๆ มักจะเป็นไก่ที่มีสี ดังต่อไปนี้
- สีดอกหมาก บางที่เรียกสีโย ทางภาคเหนือเรียกว่าสีสา ไก่พม่าสีดอกหมากถือเป็นไก่สีเก่งของพม่าเทียบได้กับไก่เหลืองหางขาวของไทยเลยทีเดียว มีทั้งหางขาว หางดำ ถ้าหางขาวปากจะขาว ถ้าหางดำปากจะดำ
- สีนกกรดแดง บางคนเรียกว่าสีแดงหรือทองแดง เป็นสีเก่งของไก่พม่ารองจากสีดอกหมาก เทียบกับสีประดู่ของไทยก็ว่าได้ มีทั้งหางขาว หางดำ นอกจากนี้ก็มีสีอื่นๆ เช่นเดียวกับไก่ไทย คือ สีเขียว สีเทา สีลาย โดยเฉพาะตัวเมียจะเป็นสีลายสีแดงคล้ายสีหม้อดิน*ไก่สายพันธุ์พม่าถ้าเป็นลูกร้อย (ลูกแท้) จะมีรูปร่างขนาดเล็กไก่สายพันธุ์พม่า แบ่งออกได้ 3 ขนาด ดังนี้
ขนาดเล็ก จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 2.0 – 2.5 กิโลกรัม
ขนาดกลาง น้ำหนักตั้งแต่ 2.5 – 2.7 กิโลกรัม
ขนาดใหญ่ น้ำหนักตั้งแต่ 2.7 – 3.0 กิโลกรัม
*ไก่ชนสายพันธุ์พม่าชั้นเชิงน้อย แต่มีความไวสูงและแม่นเวลาชนมักไม่ค่อยเข้าเกี้ยวหรือปะทะคู่ต่อสู้ มักจะถอยตีหรือดีดแข้งเปล่าเวลาคู่ต่อสู้เผลอและเสียจังหวะ เวลาเจอไก่กอดไก่ขี่มักจะคออ่อนและถอดตี ดังนั้น ไก่กอดไก่ขี่มักจะแพ้ทางไก่พม่า ไก่ที่จะเอาชนะไก่พม่าได้ ต้องเป็นไก่ที่เดินอัดเท้าบ่าตีตัวหรือมัดปีกตี ไม่อยู่ห่างให้ไก่พม่าดีดแข้งเปล่าได้ ไก่พม่าลูกแท้ถ้าถูกตีตัวจะทนไม่ได้ เพราะกระดูกบางและเล็กเมื่อเทียบกับไก่ไทย
วิเคราะห์ เชิงชน ของไก่พม่า
เทคนิคสำหรับ “เซียนไก่” ที่ต้องการนำไก่ชนของไทยเข้าต่อสู้กับไก่ชนพม่า อย่าลืมทดสอบ “เชิงการต่อสู้” ของไก่พม่า โดยหาจังหวะในช่วงที่ทำการเปรียบไก่ ซึ่งคู่ต่อสู้มักจะยอมให้เราจับตัวไก่ได้ ให้เราหาจังหวะทดสอบ คือ หลังจากที่จับตัวไก่จนพอใจแล้ว ให้ปล่อยไก่พม่ายืนสบายๆ โดยให้หันหน้าเข้าหาเรา แล้วหันท้ายเข้าหาเจ้าของ จากนั้นก็จับไปที่ลําคอส่วนล่างใกล้ๆ สามเหลี่ยมของไก่แล้วบีบเบาๆ อย่าให้ไก่เจ็บจนตื่น
จุดเด่นไก่ชนพม่า ไก่พม่าเป็นไก่ที่มีสัญชาตญาณป่าค่อนข้างสูง เมื่อเราบีบที่ลําคอเขา เขาจะแสดงธรรมชาติของเขาออกมาทันทีว่าเป็นไก่เชิงไหน โดยสังเกตได้จากอาการดังนี้
หากเราบีบแล้วเขาดึงตัวถอยหลัง แสดงว่าเป็นไก่เชิงถอย
หากเราบีบแล้วเขาหดคอลงแต่ไม่ถอย แสดงว่าเป็นไก่ยืนแล้วสาดจังหวะสอง
หากเราบีบแล้วเขาดึงคอกลับและเบี่ยงตัวออกด้านข้างแสดงว่าเป็นไก่ถอดหัวดี
หากเราบีบแล้วเขาเสือกหัวขึ้นมา แสดงว่าเป็นไก่กอดเชิงบน
หากเราบีบแล้วเขาขืนตัวดันไปข้างหน้า แสดงว่าเป็นไก่ชอบเดินเข้าหา
จากที่กล่าวมาทั้งหมด ก็พอจะ สังเคราะห์ลักษณะไก่พม่าเก่งๆ ได้ว่า เป็นไก่โครงกระดูกเล็ก ปราดเปรียว สาดแข้งเปล่าเก่ง แต่บางครั้งอาจเป็นจุดอ่อนเพราะหากเจอแข้งใหญ่ๆ นี่อาจถึงกับหักได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไก่ชนพม่า มีการผสมสายพันธุ์ไขว้กันไปมา และทำให้ได้สายพันธุ์ลูกผสมที่โครงสร้างดีขึ้น
และนี่ก็เป็น จุดเด่นไก่ชนพม่า ที่เรานำมาให้ทำความรู้จักกันในวันนี้
วงการกีฬาสนุกเกอร์ ในประเทศไทย วงการกีฬาสนุกเกอร์ เป็นกีฬาที่เชื่อว่ามีการเริ่มเล่นกันมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 โดยมีต้นกำเนิดย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 16 ในรูปแบบของ อิงลิช บิลเลียด (English Billiards) เป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันในกองทัพอังกฤษที่ประจำอยู่ในประเทศอินเดีย
อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม : เจ้ายอดมงคล สุดยอดไก่ก๋อยเงินล้าน จอมทุบหลัง